บทที่ 1

- คลิกบรรทัดใน พื้นที่ทำงาน

- กดที่เครื่องหมาย เพื่อให้โปรแกรมทำงาน

หรือ กด shift + enter พร้อมกัน เพื่อให้โปรแกรมทำงาน

ตัวแปร

ตัวแปร เป็นการใช้เก็บค่าในหน่วยความจำ ตัวแปรจะมีชื่อ (identifier) สำหรับใช้ในการอ้างถึงข้อมูลของมัน ในการเขียนโปรแกรม ค่าของตัวแปรสามารถที่จะกำหนดได้ใน run-time หรือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในขณะที่โปรแกรมทำงาน (executing) ตัวอย่างเช่น

กล่อง = "กล่องเปล่า" # ต้องการเติมส้มลงไปในกล่อง 1 ลูก กล่อง = "ส้ม 1 ลูก" print(กล่อง)

ในทางปฎิบัติ
box = "" # ต้องการเติมส้มลงไปในกล่อง 1 ลูก orange = 1 box = orange print(box)

การตั้งชื่อตัวแปร

- ขึ้นต้นด้วยภาษาอังกฤษ (A-Z) หรือจะเป็น (a-z) อาจจะตามด้วยตัวเลขก็ได้

Name = "สมคิด" Nickname = "Kai" print(Name,Nickname)

- สามารถใช้ภาษาไทย แต่ไม่นิยม

สมคิด = "Somkit" print(สมคิด)

- ต้องไม่มีสัญลักษณ์ จุด (.) หรือช่องว่าง ยกเว้น (_) หรือ Underscore

แบบที่ผิด

.re = "Somkit"

แบบที่ถูก

_re = "Somkit" print(_re)

- ภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่กับเล็กมีความหมายต่างกัน

A = 1 a = 2 print("A: ",A) print("a: ",a)

- ไม่ซ้ำกับคำสงวน เช่น False, None, True, __peg_parser__, and, as, assert, async, await, break, class, continue, def, del, elif, else, except, finally, for, from, global, if, import, in, is, lambda, nonlocal, not, or, pass, raise, return, try, while, with, yield


ชนิดของตัวแปร (Data Type)
- ข้อมูลประเภท ข้อความอักษร (string : str : สตริง)

เรียกตัวแปรประเภท string มีเครื่องหมายสำคัญที่จะระบุความเป็นข้อความก็คือ

"_" Double quote

'_' Single quote

เช่น

Message = "สวัสดีแบบดับเบิลโขด" print(Message) Message = 'สวัสดีแบบซิงเกิ้ลโขด' print(Message)

- ข้อมูลประเภท ตัวเลข (Number) แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
* ข้อมูลประเภท จำนวนเต็ม (Integer : int : อินทีเจอร์)

คือข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม

x = 50 y = -50 print(x) print(y)

* ข้อมูลประเภท ทศนิยม (Float : float : โฟลท)

จำนวนจริงในที่นี้เป็นจำนวนที่อยู่ในรูปทศนิยมแบบจุดลอย (floating point) หรือมักเรียกว่า float

x = 50.0 y = 0.26545 print(x) print(y)

- ข้อมูลประเภท จำนวนเชิงซ้อน (Complex : complex : คอมเพ็ค)

คือข้อมูลที่ประกอบด้วยส่วนจริงและส่วนจินตภาพ โดยส่วนจินตภาพจะเขียนโดยต่อท้ายด้วย j

x = 50 + 0.23j y = 10 + 0.23j print(x) print(y)

ต่อให้ตัวเลขนำหน้า j เป็น 0 ซึ่งหมายถึงส่วนจินตภาพเป็น 0 แต่ถ้ามีการเขียน 0j อยู่ก็ยังถือเป็นจำนวนเชิงซ้อน จำนวนเชิงซ้อนเป็นอะไรที่เป็นนามธรรมเป็นอย่างมาก และมักใช้ในคณิตศาสตร์ระดับสูง


- ข้อมูลประเภท บูล หรือ บูลีน (Boolean : bool : บูล)

ข้อมูลประเภทบูลคือข้อมูลที่มีค่าเป็นเพียง ๒ แบบ คือจริงกับเท็จเท่านั้น ซึ่งเขียนแทนด้วย True False

x = True y = False a = 2 b = 0 print(x) print(y) print(a==b)

* โดยให้ระวังว่าจำเป็นต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น

- ข้อมูลประเภท ลิสต์ (List : list : ลิสต์)

คือข้อมูลที่รวมเข้าเป็นรายการเดียวโดยมี [ ] เครื่องหมายบัคเก็ตหรือวงเล็บก้ามปูเป็นตัวกำหนด เช่น box = ['ส้ม', 'ชะอม']

box = ['ส้ม', 'ชะอม'] print(box) box[1] = 'ชะอมมาก' print(box)

- ข้อมูลประเภท ทูเพิล (Tuple : tuple : ทูเพิล)

คือข้อมูลที่รวมเข้าเป็นรายการคล้ายลิสต์แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ โดยมี ( ) เครื่องหมาย พะเรนทิซิส หรือวงเล็บเป็นตัวกำหนด เช่น number = (50,50)

try: box = ('ส้ม', 'ชะอม') print(box) box[1] = 'ชะอมมาก' print(box) except TypeError: print('ทูเพิล ไม่สามารถเปลี่ยนข้อมูลได้')

- ข้อมูลประเภท ดิกชันนารี (Dictionary : dict : ดิกชันนารี)

คือข้อมูลที่รวมข้อมูลเข้าด้วยกันแต่แบ่งเป็น key(คีย์) value(แวลู่)หรือข้อมูล โดยใช้เครื่องหมาย { } เครื่องหมายบัคเก็ตหรือวงเล็บปีกกาเป็นตัวกำหนด เช่น dict = {1:"สมชาย",2:"สมสมัย"}

dict = { 1:"สมชาย", 2:"สมสมัย", 3:"สมใจ" } print(dict) print(dict[1]) print(dict[2]) print(dict[3])

1 คือ key ส่วน สมชาย คือ value

- ข้อมูลประเภท เซต (Set : set : เซต)

คือข้อมูลที่รวมข้อมูลเข้าด้วยกันเหมือนลิสต์แต่ใช้ในทางคณิตศาตร์มากกว่า โดยใช้เครื่องหมาย { } เครื่องหมายบัคเก็ตหรือวงเล็บปีกกาเป็นตัวกำหนด เช่น S1 = {1,2,3,4,5,6,7}

S1 = {1,3,4,5,6,7} S2 = {2,3,4,5,6,7,8,8,8} #สามารถร่วมทั้งสองเซต ด้วยกันด้วย ยูเนียน union() S3 = S1.union(S2) print(S3)

พื้นที่ทำงาน